วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ

ควอดรันต์ (quadrant)                         พื้นที่ในระนาบที่แบ่งโดยแกน X และแกน Y แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่อยู่ทางขวาของแกน Y และเหนือแกน X เรียกว่าควอดรันต์ที่ 1
ส่วนที่อยู่ทางซ้ายของแกน Y และเหนือแกน X เรียกว่าควอดรันต์ที่ 2
ส่วนที่อยู่ทางซ้ายของแกน Y และอยู่ใต้แกน X เรียกว่าควอดรันต์ที่ 3
ส่วนที่อยู่ทางขวาของแกน Y และอยู่ใต้แกน X เรียกว่าควอดรันต์ที่ 4

ควอร์ไทล์ (quartile)               ค่า 3 ค่าที่แบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน เรียกค่าทั้ง 3 ว่า ควอร์ไทล์ที่ 1  (Q1)  ควอร์ไทล์ที่ 2  (Q2) (หรือค่ามัธยฐาน)                                     และควอร์ไทล์ที่ 3  (Q3)

ความชันของเส้นตรง   m เป็นความชันของเส้นตรงที่ผ่านจุด P1 (x1, y1) และ P2 (x2, y2) ก็ต่อเมื่อ  ความถี่สะสม (cumulative frequency)   ความถี่สะสมของค่าที่เป็นไปได้ค่าใด หรือของอันตรภาคชั้นใด หมายถึงผลรวมของความถี่ของค่านั้นหรือของ                                                        อันตรภาคชั้นนั้น กับความถี่ของค่าหรืออันตรภาคชั้นที่ต่ำกว่าทั้งหมด หรือ สูงกว่าทั้งหมดอย่างใดอย่างหนึ่ง

 ความถี่สะสมสัมพัทธ์ (relative cumulative frequency) ความถี่สะสมสัมพัทธ์ของค่าที่เป็นไปได้ค่าใด หรืออันตรภาคชั้นใด คืออัตรา   ส่วนระหว่างความถี่                                                                        สะสมของค่านั้น หรืออันครภาคชั้นนั้นกับผลรวมของความถี่ทั้งหมด อาจแสดงในรูปเศษส่วน                                                                         ทศนิยมหรือร้อยละ

ความถี่สัมพัทธ์ (relative frequency)   ความถี่สัมพัทธ์ของค่าใดหรืออันตรภาคชั้นใดคือ อัตราส่วนระหว่างความถี่สะสมของค่านั้น หรืออันตรภาคชั้น                                                 นั้น กับความถี่ทั้งหมด อาจจะแสดงอยู่ในรูปเศษส่วนทศนิยม หรือร้อยละ


 ความน่าจะเป็น (probability)      อัตราส่วนระหว่างจำนวนสมาชิกของเหตุการณ์ที่สนใจ กับจำนวนสมาชิกของแซมเปิลสเปซที่เป็นเซตจำกัด                                    และสมาชิกเหล่านั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่า ๆ กัน


ความแปรปรวน (variance)        ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานยกกำลังสอง (ดู ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประกอบ)


ความยาวรอบรูป (perimeter)    ความยาวโดยรอบรูป 2 มิติ เช่น ความยาวรอบรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม เป็นต้น


ความยาวรอบวง (circumference)    ความยาวรอบรูปวงกลม

ความสัมพันธ์ (relation)    เซตของคู่อันดับเช่น {(1, 2), (2, 3), (3, 4) }


คอร์ด (chord)    ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดสองจุดใด ๆ บนเส้นรอบวงหรือเส้นโค้ง


ค่ากึ่งกลางพิสัย (mid-range) ค่ากลางของข้อมูลที่หาได้จากการเฉลี่ยค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของข้อมูล


 ค่าเฉลี่ย (mean)  ทางสถิติ หมายถึง ค่ากลางของข้อมูลแต่ละชุด เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต



ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (arithmetic mean) ค่ากลางของข้อมูลที่ได้จากการบวกค่าสังเกตของข้อมูลทั้งหมด แล้วหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด ใช้สัญลักษณ์



ค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนัก (weight arithmetic mean)    ค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่ใช้ในกรณีที่ข้อมูลแต่ละค่ามีความสำคัญไม่เท่ากัน เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนน                                                              สอบ 4 วิชาซึ่งแต่ละวิชาใช้เวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่เท่ากัน

ค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวม (combined arithmetic mean)  ค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนักของค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลหลาย ๆ ชุด โดยที่มีจำนวน                                                                    ค่าจากการสังเกตในข้อมูลแต่ละชุดเป็นน้ำหนักถ่วง



ค่าเฉลี่ยฮาร์โมนิก, เอชเอม)(harmonic mean , H.M.)  ค่ากลางของข้อมูลชุดหนึ่ง ที่ได้จากการหารจำนวนข้อมูลทั้งหมดด้วยผลบวกของส่วนกลับของข้อมูลชุด                                                         นั้นใช้ ย่อ H.M.



ค่ามัธยฐาน (median)  ค่าที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียงค่าของข้อมูลจากน้อยที่สุดไปหามากที่สุดหรือจากมากที่สุด                       ไปหาน้อยที่สุด



คุณสมบัติการสลับที่ (commutative property)  สำหรับ a, b ทุกตัวในเซต A กับโอเปอเรชัน * จะมีคุณสมบัติการสลับที่เมื่อ a * b = b * a เรียกว่า เซต A มี                                                         คุณสมบัติการสลับที่สำหรับโอเปอเรชัน *



 
   
ความถี่
(frequency)
      จำนวนครั้งที่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่กำหนดให้ หรือจำนวนค่าจากการสังเกตของข้อมูล ที่ตกอยู่ใน                                      อันตรภาคชั้นที่กล่าวถึง
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น